Welcome to a character in literature.

วันเสาร์ที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2554

ตัวพระในวรรณคดี - อิเหนา

อิเหนา


   อิเหนาหรือระเด่นมนตรี เป็นโอรสของท้าวกุเรปันและประไหมสุหรีนิหลาอระตา แห่งกรุง
กุเรปัน อิเหนาเป็นชายรูปงามมีเสน่ห์
   
 
        เจรจาอ่อนหวาน นิสัยเจ้าชู้    
         มีความเชี่ยวชาญในการใช้กริช    และกระบี่เป็นอาวุธ
 ท้าวกุเรปันได้สู่ขอบุษบาหนึ่งหรัดธิดาของท้าวดาหาเป็นคู่ตุนาหงันของอิเหนาตั้งแต่เด็ก ครั้นอิเหนาโตเป็นหนุ่มได้พบ จินตะหราวาตีและหลงใหลนางมาก จึงปฏิเสธไม่ยอมแต่งงานกับบุษบา แต่พอได้พบกับบุษบาก็หลงรักนาง จนกระทั่งลักพาตัวนางไปขณะที่นางกำลังจะเข้าพิธวิวาห์กับระตูจรกา ทำให้องค์ปะตาระกาหลาโกรธอิเหนาจึงบันดาลให้ลมหอบนางไปเสีย
อิเหนาก็ปลอมตัวเป็นโจรป่าชื่อ มิสารปันหยี ออกติดตามหานางจนทั่วแผ่นดินชวาก็ไม่พบ 
จึงตัดสินใจบวชเป็นฤาษี ใช้ชื่อว่า กัศมาหรา ได้รับความทุกข์ทรมานใจแสนสาหัสกว่าจะได้
พบนางบุษบาอีกครั้ง ภายหลังอิเหนาได้เป็นกษัตริย์ครองเมืองกุเรปันมีมเหสีถึง ๑๐ องค์

ลักษณะนิสัย
            ๑. มีความรู้สึกรุนแรงในความรัก เมื่อได้พบนางจินตะหรา มีรูปร่างสวยงามก็คลั่งไคล้หลงใหลจนไม่ยอมเข้าพิธีอภิเษกกับนางบุษบาคู่หมั้น โดยมิฟังคำเตือนของท้าวกุเราปันบิดา 
ต่อมาได้นางสกาวะราตีและนางมาหยารัศมีก็มีความรักใคร่ผูกพันธ์นางทั้ง ๒ เป็นอันมาก 
ก่อนจากไปเมืองดาหาได้ฝากทั้ง ๒ ไว้กับนางจินตหรา ระหว่างที่เคลื่อนทัพไปยังเมืองดาหา
ก็คร่ำครวญถึงนางทั้ง ๓ ตลอดทาง 
            ๒. มีความเคารพยำเกรงบิดา เมื่อท้าวกุเรปันมีราชสาส์นสั่งให้นำทัพไปช่วยท้าวดาหา ถ้าไม่ไปจะตัดพ่อลูก อิเหนาก็ตกลงไปเกรงกลัวท้าวกุเรปันดดยขอผัดไป ๗  วันล่วงแล้ว 
แต่ในที่สุดก็ยอมเคลื่อนทัพในวันรุ่งขึ้น 
            ๓. เห็นแก่ชื่อเสียงของวงศ์อสัญหวา การที่อิเหนายอมยกทัพไปช่วยเมืองดาหา 
นอกจากเกรงและเคารพแล้ว อิเหนามีความเห็นแก่ชื่อเสียงของวงศ์อสัญหวาด้วย 
            ๔. มีความสำนึกในความผิด  เมื่ออิเหนายกทัพถึงเมืองดาหา  ท้าวดาหาก็เชิญให้
นำไพร่พลเข้ามาในเมือง อิเหนาสำนึกในความผิดไม่ขอรับพระกรุณษ อาสาทำศึกเพื่อไถ่โทษแล้วจะเข้ามาเฝ้าถวายความเคารพภายหลัง 
            ๕. มีความรอบคอบไม่ประมาท อิเหนาเห็นว่าสังคามาระตาชำนาญการรบด้วยทวนมากกว่ากระบี่จึงเตือนให้ต่อสู้กับวิหยาสะกำด้วยทวนอย่าใช้กระบี่เป็นอันขาด ผลสุดท้ายก็ชนะ 
            ๖. มีความเมตตากรุณาให้อภัยโทษแก่ศัตรูที่ยอมสวามิภักดิ์  เมื่อระตูประหมันและ
ระตูปาหยังขอนอบน้อมยอมเป็นข้า อิเหนาก็ไว้ชีวิต และอนุญาติให้นำศพท้าวกะหมังกุหนิง
และวิหยาสะกำไปประกอบพิธีในเมือง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น